ลำดับและอนุกรมเลขคณิต (Arithmetic Progression)

ลำดับและอนุกรมเลขคณิต (Arithmetic Progression)

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิตคือ ลำดับที่ พจน์ขวา (an+1)  พจน์ซ้าย (an)=d เป็นค่าคงตัวเท่ากันตลอดนั่นคือ
an+1an=d

ข้อสังเกต ถ้ากำหนดให้ a1,a2,,an,an+1, เป็นลำดับเลขคณิตแล้ว
a2a1=a3a2==an+1an=d
ดังนั้น  ลำดับเลขคณิต a1,a2,,an,an+1,  จึงเขียนได้อีกแบบเป็น
a1, a1+d, a1+2d,, a1+(n1)d, a1+nd,

สูตร หาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิตคือ
an=a1+(n1)d

การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต

จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต 1,6,11,16,

จากโจทย์เรารู้ค่า a1=1  และ  d=61=5 
จากสูตรการหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิตคือ   an=a1+(n1)d
เราจะได้ an=1+(n1)5=5n4

 [Ent' 39]  จงหาค่า m ซึ่งเป็นจำนวนเต็มที่น้อยที่สุด ที่ทำให้ am ของลำดับเลขคณิต 2,5,8, มีค่ามากกว่า 1,000
เรารู้ค่า a1=2 และ d=52=3    เราสมมติ am=1,000 เมื่อเรานำค่าต่างๆมาแทนในสูตร จะได้
1000=2+3(m1)

เมื่อแก้สมการออกมาจะได้ค่า m333.66 ซึ่งค่า m ที่เราต้องการเป็นจำนวนเต็ม
ถ้าเราตอบ m=333 จะได้ว่า a333=2+3×(3331)=2+996=998 แต่ a334=2+3×(3341)=2+999=1001 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1,000
ดังนั้นจึงตอบ m=334

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิตคือ อนุกรมที่เกิดจากการนำลำดับเลขคณิตมาบวกกัน
ให้ a1,a1+d,,a1+(n1)d เป็นลำดับเลขคณิต
จะได้อนุกรมเลขคณิตดังนี้
S1=a1S2=a1+(a1+d)=2a1+dS3=a1+(a1+d)+(a1+2d)=3a1+3dSn=n2(2a1+(n1)d) และ n2(a1+an)

สูตร ผลรวม n พจน์ของอนุกรมเลขคณิตคือ
n2(2a1+(n1)d) และ n2(a1+an)
ข้อสังเกต

  • พจน์ที่ n ของอนุกรมเลขคณิตยังคงเป็นสูตรเดียวกับลำดับเลขคณิต คือ an=a1(n1)d เพราะถือว่าเป็นตัวที่ n ไม่ใช่ผลรวม n พจน์
  • ผลรวม n พจน์ หรือ ผลบวก n พจน์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าผลบวกย่อย เขียนแทนด้วย Sn
  • ใช้สูตร Sn=n2(2a1+(n1)d) เมื่อทราบ a1 และ d โดยไม่ต้องคำนวณพจน์สุดท้าย (an)
  • ใช้สูตร Sn=n2(a1+an) เมื่อทราบค่าของ a1 และพจน์สุดท้าย (an)

ตัวอย่างการหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต

จงหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต  3+9+15+21+
จากโจทย์อนุกรมที่กำหนดให้มี a1=3 และ d=6
จากสูตร n2(2a1+(n1)d) 
จะได้
Sn=n2[2×3+(n1)×6]=n2[6+(n1)×6]=n2(6n)=3n2
3n2 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปสูตรพื้นฐานเบื้องต้น